แถบเครื่องมือโปรแกรม Adobe Photoshop)

โปรแกรม Adobe Photoshop  มีเครื่องมือมากมายสำหรับการใช้ งานสร้างไฟล์ กราฟิก เริ่มจากง่ายไปหายาก นักเรียนควรเริ่มฝึกจากทักษะง่าย และพัฒนาฝึกฝนการใช้เครื่องมืออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อสามารถใช้ทักษะ ในขั้นสูงต่อไปได้

        รู้จักกับแถบเครื่องมือ

            ก่อนการใช้งาน นักเรียนต้องทำความรู้จักกับแถบเครื่องมือต่างๆ ว่าทำหน้าที่อะไรแล้วทดลองใช้งาน สังเกต จดบันทึก เพื่อความแม่นยำเมื่อใช้งานจริง
แถบเครื่องมือ ประกอบด้วยเครื่องหมายในการจัดการภาพมากมายหลายชิ้น และมีบางชิ้นที่มีเครื่องมือย่อยซ่อนอยู่ การสร้างงาน ออกแบบงานกราฟิก จะต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องมือต่างๆ ตลอดเวลา

                                                        

                                                                                                           แถบเครื่องมือโปรแกรม อะโดบี โฟโตช็อป (Adobe Photoshop)

 

เทคนิคการควบคุมเครื่องมือ

      เครื่องมือบางรายการ จะเป็นชุดเครื่องมือ สังเกตได้จากรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่ปรากฏอยู่มุมล่างขวาของเครื่องมือนั้นๆ การเลือกเครื่องมือจากชุด ใช้วิธีกดเมาส์ค้างไว้ โปรแกรมจะแสดงเครื่องมือในกลุ่ม จากนั้นปล่อยเมาส์ ณ ตำแหน่งเครื่องมือที่ต้องการ

      เครื่องมือบางเครื่องมือ มีรายละเอียดปลีกย่อยในการใช้งาน ซึ่งควบคุมจาก Options Bar ดังนั้นเมื่อเลิกเครื่องมือใดๆ ควรกำหนดรายละเอียดการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ก่อนเสม

        ตัวอย่างปุ่มเครื่องมือที่มีเครื่องมือย่อย

              เมื่อคลิกเมาส์ค้างที่แถบเครื่องมือ Marquee จะปรากฏแถบเครื่องมือย่อย

          รูปแสดงตัวเลือกย่อยของเครื่องมือ Lasso

  การใช้งานของแถบเครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรมอะโดบี้โฟโต้ช็อป (Adobe Photoshop)

        1. การเข้าสู่โปรแกรม Photoshop

              Click ไอคอนรูป   บน Desktop

              หรือ Click ปุ่ม Start>Program>Adobe Photoshop

             พื้นที่ทำงาน

            เมื่อเปิดโปรแกรม Photoshopcs จะเห็นพื้นที่ทำงานซึ่งประกอบด้วยหน้างานหลักดังรูปต่อไปนี้


 

              Memu Bar           แถบกลุ่มคำสั่งสำหรับการทำงานทั้งหมดใน Photoshop

              Option Bar          แถบสำหรับแสดงส่วนตัวเลือกหรือส่วนปรับแต่งเสริมการทำงานของเครื่องมือ (Tool) ที่เราเลือกใช้ งานจากใน Tool Box

              Toolbox             เป็นกล่องเก็บเครื่องมือต่างสำหรับใช้ทำงานบนพื้นที่งาน

              Active Image Area พื้นที่งานซึ่งสามารถเปิดทำงานพร้อมกันได้หลายๆ กรอบแต่สามารถเลือกทำงานได้ทีละกรอบเท่านั้น

              Palette Well        ส่วนสำหรับจัดเก็บหน้าต่าง Palette ที่เราอาจจำเป็นต้องงานเป็นระยะๆ (แต่ไม่ตลอดเวลาร เราสามารถเลือก Palette บางชิ้นมาใส่ไว้ใน Palette Well นี้ได้

              Palette  เป็นหน้าต่างย่อย สำหรับอำนวยความสะดวกในการทำงานและเป็นส่วนควบคุมส่วนย่อยในการทำงานด้วย เช่น  กำหนดค่าสี การทำงานLayer บันทึกแก้ไขการทำงาน History
 

    2. ก่อนจะเริ่มทำงานจะต้องกำหนดค่าให้กับมาเป็นค่า Default  

            Menu Window

               Reset Palette Location

               ใช้ Mouse Click ขวาที่ Option bar และเลือก Reset all tools
 

      3. การเปิดหน้างานใหม่

              Menu File

                    New  หรือ กด Ctrl + N

                     เกิดหน้าต่าง New

                กำหนดค่างานสำหรับสร้างงานเวบไซต์

                   Name : ใส่ชื่องาน

                   Image size :  ขนาดของ File ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามขนาด และ Resolution

                   Width :  ความกว้าง ซึ่งมีหน่วยต่างๆ เช่น Pixcel เซนติเมตร นิ้ว

                    Height :  ความสูงซึ่งมีหน่วยต่างๆ เช่น Pixcel เซนติเมตร นิ้ว

                   Resolution : ค่าความละเอียด (ซึ่งความละเอียดบนหน้าจอ = 72)

                   Mode  : ใช้ Mode RGB Color สำหรับงานออกแบบเวบไซต์
 

                เกร็ดความรู้

                 ถ้าต้องการซ่อน Toolbar และ Palette ให้กดปุ่ม TAB

                 ถ้าต้องการซ่อนเฉพาะ Palette ให้กด Shift+TAB

 

           4. การย่อ-ขยายภาพโดยใช้ Zoom Tool

                การย่อ-ขยายภาพจะช่วยให้สามารถตกแต่งภาพได้ง่ายและมีความละเอียดมากขึ้นสามารถขนานภาพและตกแต่งได้จนถึงส่วนที่ย่อยที่สุดของภาพ คือ pixel ต่อ pixel

                 Zoom Tool เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อยู่ใน Toolbox มีรูปร่างเหมือนแว่นขยายใช้ในการย่อหรือขยายภาพมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ คือ

                Click Mouse ที่ไอคอนใน Toolbar

เมื่อเลื่อน Mouse เข้าไปบริเวณรูปภาพ ตัวชี้ Mouse จะเปลี่ยนไปเป็นรูปในขั้นตอนมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันดังนี้

               เมื่อต้องการขยายภาพให้เลือกบริเวณที่ต้องการ ขยายแล้ว Click เมาส์ ภาพบริเวณนั้นจะขยายออกและเมื่อClick  เมาส์ไปเรื่อยๆ ภาพก็จะขยายขึ้นเรื่อยๆ

               เมื่อต้องการย่อภาพให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้ หลังจากนั้นเลือกบริเวณที่ต้องการย่อภาพและ Click เมาส์จะสังเกตเห็นว่าภาพบริเวณนั้นจะถูกย่อลง
 

       5. กำหนดมุมมองของภาพโดยการใช้ Hand Tool

               ในกรณีที่ภาพมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถมองเห็นทุกส่วนของภาพได้ในหน้าจอเดียว  สามารถเลื่อนภาพเพื่อดูภาพในทุกจุดได้  ภายในหน้าจอเดียวได้โดยไม่ต้องอาศัย Scrollbar อีกต่อไป ด้วยวิธีง่ายๆ คือการใช้ Hand Tool ที่อยู่ใน Toolbox     

     6 . Navigator Palette ศูนย์รวมการกำหนดมุมมอง

                     

 

 

                จากหัวข้อที่ผ่านมาแสดงถึงการกำหนดมุมมองของภาพในรูปแบบต่างๆ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องมือเหล่านั้นกับภาพที่เห็นถูกรวบรวมไว้ด้วยกันที่ Navigator Palette ดังต่อไปนี้ คือ

                     สามารถเรียกดู Navigator Palette ได้โดยการ Click เมาส์ที่

                    Window>Show Navigator

                     สังเกตว่า ภาพที่ใช้งานอยู่ ปรากฎใน Navigator Palette

                    กรอบสี่เหลี่ยมสีแดงสดพื้นที่ภาพที่แสดงบนหน้าต่างภาพ

                     เมื่อเลื่อน Mouse ไปที่กรอบสีแดง จะปรากฎ  Click เมาส์และลากเส้นกรอบสีแดงไปยังพื้นที่ที่ต้องการดูใช้งานเหมือนคำสั่ง Hand Tool

                   บอกเปอร์เซ็นต์การขยายของภาพในขณะนั้น  สามารถพิมพ์ตัวเลขกำหนดเปอร์เซ็นต์การขยายภาพเองได้  สังเกตว่า กรอบสีแดงจะเล็กลงเมื่ออัตราการขยายสูงขึ้นและภาพที่แสดงในหน้าต่างภาพก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

                    Click เมาส์เพื่อปรับเปอร์เซ็นต์การย่อเป็น Step

                    แถบเลื่อนเพิ่ม-ลดอัตราการขยายของภาพ ทางขวาเพิ่ม ทางซ้ายลด

                    Click เมาส์เพื่อปรับเปอร์เซ็นต์การขยายเป็น Step
 

       7. การสร้าง  Selection  

                 การสร้าง  Selection  คือ  การเลือกพื้นที่เพื่อการแก้ไขและตกแต่งภาพ

                 การสร้าง Selection ในโปรแกรม Photoshop  หมายความว่า หากต้องการปรับแต่งภาพต้องมีการเลือกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก่อน  เนื่องจากภาพบางภาพต้องการปรับแต่งเฉพาะบางจุด

                   7.1 การ Selection โดยใช้ Marquee Tool

Marquee Tool เป็นเครื่องมือที่ทำให้การ Selection แบบมีรูปแบบตายตัว เช่น การเลือกพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม ด้วยวิธีง่ายๆ เพียงลาก Mouse ผ่านพื้นที่ภาพเท่านั้น Marquee Tool แบ่งตามลักษณะการใช้งานเป็น 4 รูปแบบ คือ

                                            

                                                      เครื่องมือในส่วนของ Marquee Tool

 

                   7.2 วิธีการใช้งาน Marquee Tool

                            เลือกรูปแบบ Selection โดยClick เมาส์ค้างไว้จะปรากฎรูปทรงต่างๆ ที่ซ่อนไว้ เลื่อนเมาส์ไปยังรูปแบบที่ต้องการและปล่อยเมาส์ 

                            เลื่อนเมาส์ไปยังบริเวณพื้นงาน ลูกศรที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย +  หลังากนั้นก็ Click และลากเมาส์ค้างในพื้นที่ที่ต้องการ

                           เมื่อได้พื้นที่ที่ต้องการแล้วให้ปล่อยเมาส์ก็จะเกิดเส้นประในบริเวณที่ถูกเลือก

 

                     7.3 Marquee Options

                       สามารถกำหนดคุณลักษณะต่างๆ ของ Marquee Tool ได้โดยClick เมาส์และเลือกที่ Option Bar ซึ่งจะแสดงดังรูป

                                                        Option Bar ขณะทำงานที่ Marquee Tool

 

                     7.4 การทำงานของ Marquee Options

                       ค่า Feather เป็นการกำหนดความฟุ้งเบลอของขอบที่เลือกซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 255 เป็นการสร้างเส้นขอบ Selection ให้มีความฟุ้งเบลอและลดความลดเอียดของขอบที่ Selection ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน  เมื่อมีการตัด การก๊อปปี้ การเคลื่อนย้ายพื้นที่ที่เลือกนั้น  หากค่าของ Feather มาก ความฟุ้งเบลอจะมากตามด้วย

                     7.5 Style ของ Marquee Options แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

                        Normal เลือกอิสระ ขนาดของพื้นที่ที่เลือกจะเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งของเมาส์ที่เลื่อนไป

                        Constrained Aspect Ration  เลือกแบบกำหนดค่ายืดหยุ่นตามอัตราส่วนความกว้าง  ความสูงที่ได้กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้ Width(ค่าความกว้าง) = 1 และ Height(ความสูง) =1  หมายถึงเมื่อลากเมาส์พื้นที่เลือกได้จะถูกบังคับให้เป็นอัตราส่วน 1:1

                        Fixed Size เลือกโดยกำหนดพื้นที่เลือกทั้งกว้างและความสูงอย่างเจาะจงแน่นอน

                      7.6 การเพิ่ม ตัด ลดและเคลื่อนย้ายพื้นที่ Selection

                        ในกรณีที่เลือกพื้นที่ภาพ กด  ตัวชี้ Mouse จะเปลี่ยนเป็นรูปเครื่องหมาย +  หลังจากนั้นให้ลากเมาส์ครอบพื้นที่ที้ต้องการ

                         ในกรณีที่เพิ่มพื้นที่เพิ่มเลือกกด Shift ค้างไว้  ลูกศรที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปเครื่องหมาย + หลังจากนั้นให้Click เมาส์ค้างไว้และลากเมาส์ไปยังบริเวณที่ต้องการเพิ่มพื้นที่

                        ในกรณีต้องการลดพื้นที่ให้กด Alt ค้างไว้  ลูกศรที่เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป + หลังจากนั้น Click เมาส์ค้างไว้และลากเมาส์ไปยังบริเวณที่ต้องการลดพื้นที่

 

8. การใช้ Selection โดยใช้ Lasso Tool 

 

                                                        

เครื่องมือในส่วนของ Lasso Tool

 

Lasso Tool          เป็นการ Selection โดยการเลือกพื้นที่การทำงานแบบอิสระโดยการทำงาน คือ ลาก Selection ตามพื้นที่ที่ต้องการและจุดสิ้นสุดนั้นต้องบรรจบกลับที่จุดเริ่มต้นรูปแบบเครื่องมือ Lasso Tool

Lasso Tool เป็นการเลือกแบบอิสระ ผู้ใช้งานสามารถบังคับได้ด้วยมือผ่านการลากเมาส์   การใช้งานให้ Click เลือกเครื่องมือ Lasso Tool  และใช้วิธีลากเมาส์ค้างในพื้นที่ที่ต้องการเลือกและจุดสุดท้ายให้บรรจบที่จุดแรก

 

Lasso Option

        Anti-alliased เป็นช่วยให้พื้นที่เลือกเรียบ ไม่ขรุขระ ทำให้งานดูเรียบร้อยมากขึ้น

Option Bar ขณะทำงานที่ Lasso Tool

9. Polygonal Lasso Tool    เป็นการเลือกแบบสร้างขอบเป็นเส้นตรงหลายเหลี่ยม

                เป็นเลือกพื้นที่แบบรูปหลายเหลี่ยม โดยทำการ Click ที่จุดเริ่มต้น  จากนั้นลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ  จากนั้นแล้ว Click ตำแหน่งถัดไปซึ่งจะเกิดพื้นที่ที่เลือกเป็นแบบหลายเหลี่ยมจนกลับมายังจุดเริ่มต้นและ Click ที่ตำแหน่งเดิมจะเกิดเส้นประ Selection เกิดขึ้น

 

10. Magnetic Lasso Tool   เป็นเครื่องมือที่ทำงานเกาะขอบพื้นที่สีที่ใกล้เคียง 

การใช้งาน  เลือกเครื่องมือ จากนั้น Click เมาส์ที่จุดเริ่มต้นจากเมาส์ลากไปยังบริเวณที่ต้องการเครื่องมือจะทำงานเลือกพื้นที่ในขอบเองโดยอัตโนมัติ  การสิ้นสุดการทำงานโดยกลับไป Click จุดที่บรรจบกับจุดเริ่มต้นอีกครั้ง

 

 

11. Magic Wand Tool

Magic Wand Tool เป็นการเลือกพื้นที่อิงกับค่าสีของรูปเป็นสำคัญ  โดยโปรแกรมจะเลือกเฉพาะค่าสีที่ใกล้เคียงที่ Click  ดังนั้นวิธีนี้เหมาะสมกับการเลือกพื้นที่ที่ไม่มีสีแตกต่างกันหรือเป็นสีเดียวจะดีมาก

 

การใช้งาน

1. เลือกเครื่องมือ  Magic Wand Tool

2. กำหนดค่าต่างบน Option Bar ดังนี้

Option Bar ขณะทำงานที่ Magic Wand  Tool

Tolerance :  กำหนดค่าสี

Anti-aliased : ทำให้ขอบเรียบไม่มีรอบขรุขระ

Contiguous : เป็นการเลือกบริเวณสีที่ใกล้เคียงกันเฉพาะกลุ่ม Pixel ที่ได้ Click เมาส์เท่านั้น

3. Click เมาส์บนพื้นที่ที่เลือกจะเกิดเส้นประบนพื้นที่ที่เลือก

 

12. การเคลื่อนย้ายภาพ

 Move Tool 

                เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายวัตถุ ภาพหรือพื้นที่ที่ต้องการให้เคลื่อนไปยังอีกที่หนึ่ง

วิธีการ

1.       เลือกพื้นที่ (Selection) ที่ต้องการหรือรูปภาพที่ต้องการ

2.       Click เมาส์เลือกอุปกรณ์

3.       Click เมาส์ค้างและลากพื้นที่ที่เลือกหรือภาพที่ต้องการไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการและปล่อยเมาส์







13. การเลือกสี

สามารถทำได้หลายวิธี

Ø    ใช้ที่ Color Palette โดยการเลือกสีที่ต้องการ จากนั้น สีจะเกิดบนช่องสี Forground

                                        

 

Ø    ใช้ Swatches Palette

Ø    ใช้ Eyedropper Tool    เป็นเครื่องมือดูดสีที่เราต้องการ

 

14. การวาดและระบายสีภาพ

                                                                      

อุปกรณ์ Brush & Pencil Tool

 

Brush Tool  เป็นการระบายสี ซึ่งบางทีอาจต้องมีการตกแต่งภาพหรือใส่สี ซึ่งสามารถทำการเลือกรูปแบบของพู่กันและขนาดของพู่กันได้

วิธีการ

Ø    เลือกสีที่ต้องการ จากนั้น Click ที่แถบเครื่องมือ Paint Brush Tool

Ø    ลากเมาส์ค้างเพื่อระบายสีตามต้องการ (หากต้องการลากเป็นเส้นตรงให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้)

Option ของ Paintbrush

Option Bar ขณะทำงานที่ Brush Tool

 

 

 

Mode                     :             เป็นการกำหนดโหมดพิเศษของสี

Opacity                                 :              เป็นการกำหนดค่าโปร่งแสงของสี ยิ่งค่าน้อยเท่าไหร่ ยิ่งโปร่งแสงมาก

Wet Edges            :             เป็นการกำหนดเส้นขอบให้ดูเหมือนเปียกน้ำ

Fade                       :               เป็นการกำหนดค่าความเลือนของเส้น

Airbrush Tool     :              เป็นเครื่องมือที่ใช้พ่นสีจะมีความฟุ้งกระจายมากกว่าระบายด้วย Paint Brush

 

 Pencil Tool

การทำงานเหมือน Paint Brush แต่เส้นที่เกิดขึ้นมีความคมชัดและมีขอบที่ชัดเจน

Option Bar  ขณะทำงานที่ Pencil Tool

Option Bar ขณะทำงานที่ Pencil Tool

 

15.   Eraser Tool

เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการลบเหมือนชื่อ ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งย่อยๆ อีกคือ

อุปกรณ์ Eraser Tool

การใช้งาน

1.       Click ที่อุปกรณ์ จากนั้นไปที่ Option bar เลือกขนาดและรูปแบบของยางลบ

2.       Click หรือ Drag Mouse ไปยังจุดหรือพื้นที่ที่ต้องการลบ

 

Eraser Option

Brush                                     เป็นการเลือกกำหนดขนาดหรือลักษณะของยางลบ

Opacity                                 เป็นการกำหนดความโปร่งแสงของภาพ

Eraser to History                                เป็นการเรียกส่วนที่ลบคืนมา

Brush Dynamics                 เป็นการให้ค่าสีใน Background ระบายลงไปแทน

 

Background Eraser Tool

เป็นการลบค่าสี Pixel บน Layer ที่ Drag Mouse ผ่านให้มีลักษณะโปร่งแสง

การใช้งาน : เหมือน Eraser Tool

 

16.  History Brush Tool

เป็นการลบเฉพาะส่วนที่ทำเพิ่มเติมลงในภาพ  แต่จะไม่มีผลต่อภาพเดิม (Background) เป็นอันขาด

การใช้งาน : Click เลือกอุปกรณ์จากนั้น Drag Mouse ไปยังบริเวณที่ต้องการลบเครื่องมือเกี่ยวกับการเทสี

 

17. อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเทสี

                                                              

                Gradientและ Paint Bucker Too)

   Paint Bucket Tool

เป็นการเทสีลงในภาพหรือพื้นที่ที่เลือก

การใช้งาน

Ø    Selection พื้นที่ที่ต้องการ

Ø    Click เลือกอุปกรณ์จากนั้น เลือกสีที่ต้องการจะเติม

Ø    Click บนพื้นที่ที่เลือก (Alt + Delete เป็นเมนูลัด)

 

Paint Bucket Tool Option bar

 

                Option Bar                           ขณะทำงานที่ Paint Bucket Tool

                คำสั่ง Fill                              เป็นการเลือกสีที่จะเติมสีแบบใด

                Foreground                           สีของ Foreground

                Pattern                                   เติมแบบภาพลวดลาย

                Mode                                     กำหนดสีแบบพิเศษ

                Opacity                                 กำหนดค่าโปร่งแสง

                Tolerance                             จำกัดขอบเขตในการระบาย

                Anti-aliased                         กำหนดให้ขอบของสีที่เทลงไปเรียบ

 

 Gradient Tool

เป็นการไล่โทนสีจากสีหนึ่งไปอีกสี่หนึ่ง  โดยมีให้เลือกอยู่ 5 รูปแบบ

 

การใช้งาน

เลือกพื้นที่ที่ต้องการ

เลือกรูปแบบสีและการไล่สีที่ต้องการ

เลือกเครื่องมือ Gradient จากนั้นเลือกรูปที่ต้องการบน Option Bars

วิธีการเทสีให้ลากเมาส์ค้างตามตำแหน่งที่ต้องการในพื้นที่ที่เลือกไว้แล้ว

 

 

รูปแบบของการเทสีในลักษณะ Gradient

Gradient Option Bar

 

Option Bar ขณะทำงานที่ Gradient Tool

                                Mode                                     กำหนดค่าสีพิเศษ

                                Opacity                                 กำหนดค่าโปรงแสง

                                Reverse                                 การไล่โทนสีกลับด้าน

                                Dither                                    ความกลมกลืนของแถบสี

                                Transparency                       เป็นการปรับการโปร่งแสงและให้แสดงผลต่อหน้าจอ

 

18. การตกแต่งภาพ

ในการตกแต่งภาพเราสามารถใช้อุปกรณ์หลายประเภทในโปรแกรม Photoshop

                                                       

                                                       Blur Tool  Sharpen Tool & Smudge Tool

  Blur Tool

เป็นเครื่องมือทำทำให้ส่วนที่ Click เบลอ

วิธีการ

เลือกอุปกรณ์  จากนั้น Click  หรือ ลากเมาส์ไปยังบริเวณที่ต้องการทำงาน

กำหนดค่า Option Bar ซึ่งมีค่าที่น่าสนใจ ดังนี้

Option Bar ขณะทำงานที่ Blur Tool

 Sharpen เลือกรูปแบบของอุปกรณ์ ขนาด และความฟุ้ง เลือกขนาดแปรง รูปแบบแปรง โดยการกดปุ่ม ลูกศร สามเหลี่ยม

Strength : เป็นการกำหนดค่าน้ำหนักและความเข้มของอุปกรณ์

 

 Smudge Tool

เครื่องมือที่ช่วยเน้นความเข้มของภาพและเพิ่มความคมชัดโดยลดจำนวนสีในภาพลง

วิธีการ   เหมือน Blur Tool

Option Bar ขณะทำงานที่ Sharpen Tool

 

19. เครื่องมือการปรับสีโทนของภาพ

                                                                     

อุปกรณ์ในส่วนของการปรับโทนสีภาพ (Dodge Burn & Sponge Tool)

  Dodge Tool เป็นเครื่องมือที่ทำให้ภาพสว่างขึ้น

การใช้งาน : Option Bar ดังนี้

                                Brush                    เลือกขนาดแปรง รูปแบบแปรง โดยการกดปุ่ม ลูกศร สามเหลี่ยม

                                Range                   เป็นการเลือกรูปแบบการทำงาน

                                Shadows              เป็นการปรับแต่งสีแบบเงา

                                Midtones             เป็นการปรับแต่งสีให้ดูเป็นธรรมชาติ

                                Highlights           เป็นการปรับแต่งสีแบบฟุ้งๆ หรือเน้นพื้นที่ที่จะทำงาน Hightlights

Option Bar ขณะทำงานที่ Dodge Tool

 

 Burn Tool

ทำให้สีของภาพดูเข้มขึ้น

การใช้งาน : เหมือน Dodge Tool

Option Bar ขณะทำงานที่ Burn Tool

 

Sponge Tool

เป็นการปรับค่า Saturate ของสี ทำให้สีมีความเข้มและจางในระดับต่างกัน

การใช้งาน : เหมือนกับ Blur Tool

Option Bar ขณะทำงานที่ Sponge Tool

 

20. การทำสำเนาภาพ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสำเนาภาพ (Clone Stamp & Pattern Stamp Tool)

 

 Clone Stamp Tool

เป็นเครื่องมือในการ Copy วัตถุในภาพให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น

วิธีการ

Ø    เลือกรูปภาพที่ต้องการ

Ø    ภาพตัวอย่างที่ใช้ในอุปกรณ์ Clone Stamp Tool

Ø    Click เลือกอุปกรณ์

Ø    นำ Mouse ไปวางบนภาพที่ต้องการ Copy จากนั้นกดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้ว Click Mouse บนภาพซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น

Ø    นำ Mouse ไปวางยังตำแหน่งบนพื้นที่ว่างที่จะทำการ Paste โดยการ Click เมาส์ค้างแล้วลากจะปรากฎรูปภาพที่ Copy ขึ้นมา

 

 Pattern Clone Stamp

วิธีการ

Ø    ใช้เครื่องมือ Selection เลือกบริเวณพื้นที่ที่ต้องการหรือใช้วิธีเลือกไฟล์ที่ต้องการทำ Pattern

Ø    เลือกคำสั่ง Edit >Define Pattern

Ø    จะเกิดหน้าต่าง Pattern name ให้พิมพ์ชื่อ แล้วกดปุ่ม OK

Ø    จากนั้นกลับไปยังพื้นที่หน้างานจากนั้นเลือกภาพ Pattern ที่ Option Bar หรือใช้คำสั่ง Edi t> Fill

Option Bar ขณะทำงานที่ Pattern Stamp Tool

 

 Healing Brush Tool

อุปกรณ์ Healing Brush & Patch Tool

เป็นเครื่องมือเหมือน Clone Stamp แต่ที่ช่วยปรับค่าสีให้ Background หรือ Layer มีความกลมกลืนกัน

วิธีการ : เหมือนกับ Clone Stamp Tool

Option Bar ขณะทำงานที่ Healing Brush Tool

 

21. การสร้างตัวอักษรลงในภาพ

อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสร้างตัวอักษร(Type Tool)

                การสร้างตัวอักษรใน Photoshop มี 2 แบบ คือ แบบตัวอักษรและแบบ Selection หรือ แบบโปร่งใสซึ่งสามารถพิมพ์อักษรได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง

การสร้างข้อความโดยใช้เครื่องมือ   Type Tool

วิธีการ

Ø    Click เลือกอุปกรณ์บน Tool Box

Ø    Click เลือกอุปกรณ์บน Option bar เพื่อพิมพ์ตัวอักษร (ถ้าเลือก...จะเป็น Selection)

Ø    Click เลือกอุปกรณ์บน Option bar เพื่อพิมพ์ตัวอักษรเป็นแนวนอน (ถ้าเลือก …..จะเป็นแนวตั้ง)

Ø    Click Mouse ลงบนพื้นที่ที่ต้องการพิมพ์ จากนั้นปรับค่าที่ Option Bar

Ø    กำหนดรูปแบบตัวอักษร ขนาดและสีของตัวอักษร เมื่อพิมพ์ก็ความเรียบร้อย

 

การแก้ไขข้อความ

Ø    ทำ Hightlight หรือปาดดำข้อความ

Ø    เลือกคำสั่ง Type Tool บน Toolbar จากนั้นก็แก้ไขบน Option Bar หรือ Click เลือกตรงปุ่ม Palette จะปรากฎ Character Palette ออกมา

Ø    พิมพ์ข้อความที่ต้องการแก้ไข เมื่อพิมพ์ก็ความเรียบร้อย กดปุ่ม Enter

 

 

22. การสร้างหน้างานเพื่อสร้างเวบไซต์

วิธีการ

Menu File

        > New  (Ctrl+N)

กำหนดค่าหน้างาน

                                        Name                                     :              กำหนดชื่องาน    

                                        Preset                                    :              Custom

                                        Width                                    :               770 Pixels

                                        Height                                   :               420 Pixels(อาจกว้างกว่านี้ขึ้นอยู่กับงาน)

                                        Resolution                            :                  72  Pixels/inch

                                        Color Mode                         :                    RGB

                                        Background Contect          :                         White

 

ที่มาของข้อมูล :

เว็บไซต์    http://uconnect.dpu.ac.th/dpupost/user/pimdini/folder/37/200.doc

 

 

 

 

 

  

 


จบแล้วจ้า ไปทำใบงานที่ 5



         กลับหน้าแรก